การศึกษาวิจัยอัตลักษณ์เรือนพื้นถิ่นชุมชนบ้านนกออก ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมานี้ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ลักษณะแบบแผนของเรือนพื้นถิ่นและอัตลักษณ์เรือนพื้นถิ่น โดยการเลือกเรือนตัวอย่างแบบ เจาะจงจำนวน 5 หลัง ทำการเก็บข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนาม สัมภาษณ์ รังวัดเขียนแบบเรือน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์และผลการวิจัยเชิงคุณภาพรายงานอธิบายพร้อมภาพประกอบ ผลการวิจัยประวัติการตั้งถิ่นฐานของชุมชน มีความเกี่ยวข้องกับการเข้ามาของกลุ่มคนมอญจากภาคกลางของไทย ในพื้นบริเวญลาพระเพลิง เขตอำเภอปักธงชัยอย่างน้อย 2 ครั้ง ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จากกาลเวลาที่ผ่านมาถึงปัจจุบันได้กลมกลืนเป็นคนไทยท้องถิ่นแล้ว ลักษณะแบบแผนของเรือนพื้นถิ่น ตั้งรวมกันอยู่เป็นกลุ่มมีวัดนกออกเป็นศูนย์กลางของชุมชน ประกอบด้วยพื้นที่เรือนนอน ระเบียง ชาน หอ และครัว ใต้ถุนสูงใช้พักผ่อนรับแขกในเวลากลางวัน ห้องน้า-ส้วมอยู่ชั้นล่างหรือนอกเรือนเช่นเดียวกับยุ้งข้าว เป็นเรือน 3 ห้อง หลังคาจั่วมีเสาดั้ง ผนังไม้ตีซ้อนเกล็ดทางนอนมีหน้าต่างด้านนอนของเรือนนอนผนังละบาน วัสดุหลักใช้ไม้ ระดับพื้นของเรือนชานอยู่ต่ำที่สุด เรือนนอนอยู่สูงที่สุด อัตลักษณ์ของเรือน มีลักษณ์คล้ายเรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือน 3 ห้อง หลังคาทรงจั่วมีปีกนกใช้เสาดั้งรับโครงสร้างหลังคาด้านหน้าจั่ว ใต้ถุนสูง ผนังมีลักษณะซ้อนเกล็ดทางนอนใช้ไม้ตีเป็นลูกตั้งรูปแบบคล้ายฝาสำหรวดหรือฝาปรือเดิม ตำแหน่งเรือนนอนอยู่ทางทิศใต้ พื้นที่ระเบียงระหว่างเรือนนอนกับหอมีพื้นที่กว้างมากกว่าทุกส่วนใช้เป็นโถงกลางเรือน ทำหลังคาคลุมพื้นที่ส่วนนี้
ที่มา : www.at.ea-rmuti.net/