ในวันนี้ Korat Colla จะขอแนะนำความรู้เรื่อง ธุรกิจข้าวสาร ให้พี่น้องชาวโคราชที่กำลังคิดจะทำธุรกิจขายข้าวสารเข้าใจและทราบแหล่งขายส่งข้าวของโคราชกันคะ
ข้าว
เป็นธัญญาหารหลักของชาวโลก จัดเป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับ หญ้าซึ่งนับได้ว่า เป็นหญ้าที่มีขนาด ใหญ่ที่สุดในโลกและมีความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถปลูกขึ้นได้ง่ายมีความทนทานต่อทุก สภาพภูมิ ประเทศในโลกไม่ว่าจะเป็นถิ่นแห้งแล้งแบบทะเลทราย พื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง หรือแม้กระทั่ง บนเทือก เขาที่หนาวเย็น ข้าวก็ยังสามารถงอกงานขึ้นมาได้อย่างทรหดอดทน สำหรับข้าวชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมากินคือ ข้าวป่า
ข้าวสารหลักๆ แบ่งออก เป็น 4 ประเภทที่นิยมรับประทานกัน คือ
1.ข้าวเจ้า หรือ ข้าวขาว เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของไทย ปลูกกันทั่วไป ชอบนาดอน เม็ดจะมีลักษณะเป็นเม็ดขาว ผอม ยาว ซึ่งฝรั่งมักจะเรียกว่า long-grain white rice ชื่อพันธุ์จะเป็นไปตามแหล่งเพาะปลูก เช่น ข้าวตาแห้ง ข้าวเสาไห้ ข้าวปทุมธานี 1 ข้าวชัยนาถ 1 ข้าวพิษณุโลก เป็นต้น ราคาไม่แพงมาก หากเป็นข้าวทางภาคกลางมักปลูกทั้งนาปีและนาปรัง ออกผลผลิตรวม 2-3 ครั้งต่อปี เป็นข้าวที่ส่งออกมากที่สุด
2.ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยที่สุดในโลก ข้าวหอมมะลิแท้จะเป็นข้าวพันธุ์ กข. 105 ซึ่ง นิยมปลูกในภาคอีสาน บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ปัจจุบันสามารถปลูกได้ทั่วไป แต่ข้าวหอมมะลิที่ขึ้นชื่อ เมล็ดสวย หุงแล้วมีหางเหนียว หอมออกกล่นมะลิ มักจะมาจากทางภาคอีสานบริเวณจังหวัด ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และมาจากภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่เชียงราย ข้าวหอมมะลิจะปลูกได้เพียงปีละครั้ง (นาปี) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีข้าวอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ข้าวหอมปทุม ที่คนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นข้าวหอมมะลิ จริงๆ แล้วข้าวหอมปทุม คือข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี แต่เป็นข้าวเจ้าที่มีลักษณะคล้ายข้าวหอมมะลิ 105 มาก เพียงแค่มีความนุ่มน้อยกว่าและกลิ่นหอมน้อยกว่า แต่เป็นข้าวที่มีผลผลิตสูง ปลูกได้หลายครั้งต่อปี จึงทำให้มีราคาถูกและมีราคาที่ต่ำกว่าข้าวหอมมะลิแท้
3.ข้าวเหนียว เป็นข้าวอีกกลุ่มซึ่งมีลักษณะยางข้าวที่เหนียวติดกัน เป็นข้าวที่คนอีสานนิยมทานเป็นอาหารหลัก เช่นทานกับส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น ในประเทศไทย ข้าวเหนียวจะนิยมปลูกที่บริเวณภาคอีกสานตอนบน มักเป็นพันธุ์ กข.6 เช่น อุดรธานี สกลนคร และทางภาคเหนือ เช่น ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ มักเรียกข้าวเหนียวสันป่าตองเหนือ
4.ข้าวชนิดพิเศษ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมมะลินิล ข้าวหอมมะลิแดงมันปู ข้าวเหนียวดำ
แล้วทำไมต้องขายข้าวสาร
ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 65 ล้านคนในปี 2557* จากสถิติ คนไทยกินข้าวเฉลี่ยประมาณ 101 กก./ปี แต่เมื่อนับรวมการนำข้าวไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นด้วย คนไทยจะบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าวถึง 11 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 30 ล้านกิโลกรัมต่อวัน นอกจากนั้น ข้าวยังสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เน่าเสีย (หากเก็บถูกวิธี) บริโภคแล้วหมดไป ต้องซื้อซ้ำ และไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร คนไทยก็ยังทานข้าว และทานยิ่งมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เพราะข้าวทานแล้วอิ่มท้อง ทานข้าวบ่ายอยู่ได้ถึงเย็น
แล้วอยู่โคราชจะไปรับข้าวสารจากไหน? จะเริ่มต้นอย่างไร
1.เริ่มจากการศึกษารายละเอียดของข้าวชนิดต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง มีลักษณะเป็นอย่างไร
2.พื้นที่ที่เราต้องการขาย มีคนชอบข้าวประเภทไหนบ้าง
3.บริเวณที่จะขาย มีโรงเรียน โรงแรม โรงงาน ร้านอาหารไหนที่ใช้ข้าวสารบ้าง
4. สุดท้าย ที่สำคัญมากๆ เลยคือทำเล หากท่านมีทำเลที่ดี อยู่ในบริเวณชุมชนจะทำให้ดียิ่งขึ้น
แล้วอยู่โคราชจะไปรับข้าวสารที่ไหน เรื่องนี้ไม่ยากเลยคะ Korat Colla หาแหล่งจัดจำหน่ายมาให้ชาวโคราชที่กำลังต้องการธุรกิจขายข้าวสาร นั่นคือ หจก. เซี๊ยะตงไรซ์ (2009) ศูนย์จำหน่ายข้าวสาร ที่ใหญ่ที่สุดในโคราช นั่นเองกับประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจค้าข้าวสารมามากกว่า 40 ปี มีโกดังเก็บข้าวสารขนาดใหญ่ ด้วยเนื้อที่ขนาดหนึ่งไร่กว่า ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโคราช ใกล้กับประตูพลแสนและวัดสามัคคี ดำเนินกิจการมา 3 รุ่นอายุมีเอกลักษณ์ของการจำหน่ายข้าวสารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเกรดราคาถูกหรือข้าวสารคุณภาพดี ในราคาที่ยุติธรรมรวมถึงบริการส่งให้ถึงที่
ทั้งนี้ที่ หจก. เซี๊ยะตงไรซ์ (2009) ยังมีข้าวสารกว่า 20 ชนิด ให้ได้เลือก เช่น ข้าวเจ้า ตราเหรียญทอง, ตราไก่แจ้, ตราไทไท, ตราเกวียนทอง ข้าวหอมมะลิ ตราดอกมะลิ, ตรา 9 ใบโพธิ์, ตราไทไท, ตราฉัตร ข้าวเหนียว ตรามังกรคู่, ตราเครื่องบิน, ตราหมีรวงข้าว ข้าวอื่นๆ เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมกล้อง หอมแดงมันปู เยอะมากๆ ต้องก่รแบบไหนสั่งได้เลยคะ
เรื่องข้าวเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั่นการทำธุกิจขายข้าวสารนั่นจึงจำเป็นจะต้องมีแหล่งซื้อที่น่าเชื่อถือ และราคายุติธรรม สำหรับชาวโคราชที่กำลังจะทำแล้วต้องการข้าวสารคุณภาพราคายุติธรรม ลองติดต่อไปที่ เซี๊ยะตงไรซ์ เขาพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำ ชาวโคราชที่จะทำธุรกิจขายข้าวสารคะ
ติดต่อ 044-258-485, 044-258-486, 044-256-256 | [email protected] | www.facebook.com/siatongrice
ที่มาข้อมูล http://www.arda.or.th/kasetinfo/rice/rice-histories.html http://www.siatongrice.com/ สำนักงานสถิติแห่งชาติ